วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

มุสลิมที่อินโดนีเซียประท้วงเดนมาร์คตีพิมพ์การ์ตูนล้อเลียนท่านนบี

กลุ่มมุสลิมประมาณ 100 คน ชุมนุมประท้วงอย่างสงบด้านนอกสถานทูตเดนมาร์ก ในกรุงจาการ์ตา นครหลวงอินโดนีเซีย ต่อกรณีที่สื่อเดนมาร์กนำการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดของศาสนาอิสลามมาตีพิมพ์ซ้ำอีก หนังสือพิมพ์ในเดนมาร์กอย่างน้อย 17 ฉบับ พร้อมใจกันนำการ์ตูนล้อเลียนศาสดามูฮัมหมัดออกมาตีพิมพ์ซ้ำอีก เพื่อต้องการย้ำให้เห็นถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หลังมีข่าวว่าตำรวจเดนมาร์กได้สกัดกั้นแผนการของชาวมุสลิมกลุ่มหนึ่งที่จะสังหารนักเขียนการ์ตูนที่วาดภาพดังกล่าว กลุ่มฮิซบัต ตาห์ฮีร์ อินโดนีเซีย แถลงเรียกร้องให้รัฐบาลเดนมาร์กลงโทษประหารชีวิตผู้ลบหลู่ศาสดามูฮัมหมัด และว่า เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนั้น ได้สร้างความเสื่อมเสียให้ศาสนาอิสลาม นอกจากจะชุมนุมประท้วงที่สถานทูตเดนมาร์ก กลุ่มอิสลามยังไปชุมนุมที่หน้าสถานทูตเนเธอร์แลนด์ เพื่อประท้วงต่อแผนการเปิดฉายภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอานของศาสนาอิสลาม ของนายกีร์ท วิลเดอร์ส นักการเมืองชาวดัตช์

5 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ไม่มีใคร ที่เต้าจะทนดูได้หรอกคับ แต่เราจะทำอะไรเค้าได้ล่ะ ขนาด มุสลิมยังทะเลาะ กันเองเลย แล้วยังจะรวมตัวไปสู้กับ ศาสนิก อื่น หรอ

raknabee กล่าวว่า...

จริง ครับ....มุสลิมเรา ทะเลาะกันเอง ผมก็เศร้าใจนะครับ สิ่งที่เราทำได้นี่ก้คือ...สุดความสามารถของเราแหละครับ...คงไม่ต้องรอให้มุสลิมเรารวมตัวกันได้ทั้งหมดก่อนหรอกครับ....ขออัลลอฮทรงเมตตาท่านครับ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

แม้เรามีกันน้อย แต่ขอเพียงอย่างเดี่ยว เราและเรา เราต้องมาร่วมมือร่วมใจกัน boycott สินค้าทุกชนิดที่เป็นของพวกมัน สิ่งที่เราควรทำ จงจำไว้เสมอว่าอัลลอฮฺจะไม่ทอดถิ้งเรา เราต้อง สู้..!สู้เพื่ออัลลอฮฺสู้เพื่อนาบี

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ดูสิ่งที่มันทำกับพวกเราสิมันช่างเจ็บปวดเหลือเกินเราจะทำยังไงกันดี มันคงใกล้ถึงวันนั้นแล้วละนะวันแห่งการตัดสิน เราทำได้เพียงขอพรจากเอกองค์อัลลอฮ.(ซ.บ.)ให้ความสงบแก่มุสลิมทั่วโลกและจงฮีดายะห์ให้พวกที่หลงผิดเข้ามารับนับถืออิสลาม อามีน
เด๊ะ มูยาฮีดีน

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ท่านผู้น้ันคือนบีของเราทำไมน.ส.พเดนมาร์กถึงทำกับเราแบบนี้ท่าน
ไช้คำว่าเพื่อต้องการย้ำให้เห็นถึงเสรีภาพ(เสรีภาพ หรือ อิสรภาพ คือสภาวะที่ปัจเจกชนมีความคุ้มกัน ต่อการใช้อำนาจหน้าที่ตามอำเภอใจ
อารยธรรมตะวันตก

นักคิดในยุคแสงสว่าง ได้ให้เหตุผล ว่ากฎหมายนั้นเป็นสิ่งที่มีอำนาจทั้งในเรื่องมนุษย์ และเรื่องที่เหนือขึ้นไป เช่นเรื่องสรวงสวรรค์ และกฎหมายนั้นเองที่ให้อำนาจกับกษัตริย์ แทนที่จะมองว่าอำนาจของกษัตริย์ทำให้เกิดการบังคับ
ใช้กฎหมายได้ มโนทัศน์ที่ว่ากฎหมายนั้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ
์ระหว่างบุคคล แทนที่จะเป็นตระกูล เริ่มเด่นชัดขึ้น และด้วยแนวคิดนี้ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องของเสรีภาพส่วนบุคคล ว่าควรจะเป็นความจริงมูลฐาน ที่ถูกมอบให้โดย "ธรรมชาติ และ พระเจ้า" ซึ่งในรัฐในอุดมคติ เสรีภาพส่วนบุคคลนี้ ควรจะขยายไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า ยุคแสงสว่างได้ให้กำเนิดแนวคิด "เสรีภาพ" กล่าวคือ แนวคิดเกี่ยวกับปัจเจกชนอิสระ จะมีความอิสระมากที่สุดภายในสภาพแวดล้อมของรัฐที่ให
้ความมั่นคงทางกฎหมาย ถัดจากนั้นแล้ว แนวคิดทางปรัชญาที่ถอนรากถอนโคนยิ่งขึ้นก็ได้
แสดงตัวเด่นชัดขึ้นในช่วงของการปฏิวัติฝรั่งเศสและ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับอารยธรรมตะวันตกแล้ว เป็นช่วงของความปั่นป่วนเนื่องจากสงครามและการปฏิวัติ ซึ่งค่อยๆ หล่อหลอมให้เกิดแนวคิดและความเชื่อที่เรียกกันในปัจจุบันว่า "เสรีภาพของปัจเจกชน" ฐานคิดทางปรัชญาของ "เสรีภาพ" คือแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิความเป็นมนุษย์ และมนุษย์นั้นมีคุณค่ามากกว่าที่จะอยู่ในสภาพของความเป็นทาส รวมไปถึงแนวคิดที่ว่ามนุษย์ควรจะเป็นผู้กำหนดและควบคุม
ชะตาชีวิตของตนเอง แนวคิดทางปรัชญาเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากมุมมองทางศาสนา แม้ว่าทั้งชาวคริสต์ ชาวยิว และมุสลิม ล้วนแล้วแต่เคยมีการใช้ทาสมาก่อนทั้งสิ้น

[แก้] ในอารยธรรมตะวันออก

ขงจื้อได้เตือนเกี่ยวกับการมีบทบาทที่มากเกินไปของรัฐบาล ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับพัฒนาการของแนวความคิดยุคหลังล็อก
ของเสรีภาพเชิงลบ เขากล่าวว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วยการทำเป็นตัวอย่างและ "การไม่ทำ" นั้น ยิ่งใหญ่กว่ารัฐบาลที่ทำงานด้วยกฎหมายและระเบียบวินัย

[แก้] ในอารยธรรมตะวันออกกลาง

ในประวัติศาสตร์ของศาสนายูไดได้มีการกล่าวถึงปัจเจกชน
ที่ยืนขึ้นเพื่อต่อต้านกับอำนาจของรัฐในเวลาที่สำคัญ เช่น โมเสสที่เรียกร้องกับฟาโรห์ของอียิปต์ว่า "ให้คนของเราไป" หรือชาวแมคคาบีที่กบฏต่อการยึดครองของชาวกรีก และชาวซีลอตที่ต่อต้านอาณาจักรโรมัน

นักกฎหมายมุสลิมได้ยืนยันมาเป็นเวลานานว่าแนวทางของ
กฎหมายที่กำหนดในคำภีร์อัลกุรอานมีหลักการที่เรียกว่า "การอนุญาต" หรือ อิบาฮา (Ibahah) โดยเฉพาะที่ใช้กับธุรกรรมทางการค้า อิบ ทายมิจจาห์ (Ibn Taymiyyah) กล่าวว่า "ไม่มีการห้าม [การซื้อขายโดยสมัครใจ] นอกเสียจากจะเป็นสิ่งที่ถูกห้ามไว้โดยพระเจ้าและผู้ส่งพระสารของท่าน" แนวคิดนี้ปรากฏในข้อความสองตอนในอัลกุรอาน (ตอนที่ 4:29 และ 5:1)

[แก้] แนวคิดทางการเมือง

เสรีนิยม คือแนวคิดทางการเมืองที่ครอบคลุมถึงอุดมการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ที่กล่าวว่าหน้าที่ของรัฐบาลคือการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคล โดยทั่วไปแล้ว แนวคิดนี้จะกล่าวถึงสิทธิในการจะปลีกตัวออกจากแนวคิดดั่งเดิม หรืออำนาจที่ถูกสถาปนาเอาไว้ ในทางการเมืองและทางศาสนา

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่หลายๆ เรื่องเกี่ยวกับแนวคิดเสรีนิยม ความขัดแย้งที่สำคัญที่เริ่มปรากฏขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20เกี่ยวข้องกับ เสรีภาพในการแสดงออก กับ เสรีภาพในทางธุรกิจ (สิทธิในการซือ ขาย และมีทรัพย์สินไว้ในครอบครอง) กระแสคิดหนึ่งเสนอว่าแม้ว่าเสรีภาพทั้งสองแบบจะเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ แต่ก็มีความแตกต่างกันในระดับของความสำคัญ เช่น เสรีภาพในการศรัทธาของแทมมี เฟย์ แบคเคอร์นั้น ในแนวคิดนี้จะถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าสิทธิในการขาย
เครื่องสำอางค์ของเธอ

นักคิดอีกกลุ่มหนึ่งยืนยันว่าเสรีภาพในการแสดงออกกับเสรีภาพในทาง
ธุรกิจนั้นแตกต่างกันมาก ถึงขั้นที่ขัดแย้งกันอย่างรุนแรง และเสรีภาพอย่างหลังต้องถูกลดลงถึงจะทำให้เสรีภาพข้างต้นเพิ่มขึ้นได้ ผู้คนที่เชื่อในมุมมองเช่นนี้ จะไม่จัดให้เสรีภาพที่เขาต่อต้านเป็นเสรีภาพเสียด้วยซ้ำ

แนวคิดกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นที่นิยมในเหล่านักเสรีนิยม เชื่อว่าไม่มีข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างเสรีภาพทั้งสองแบบ กล่าวคือ ทั้งคู่เป็นสิ่งเดียวกัน และจะต้องได้รับการคุ้มครอง (หรือจะถูกกดขี่) ไปพร้อมๆ กัน พวกเขาชี้ว่า ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา มีการกล่าวถึง "ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน" สองครั้ง โดยไม่ได้ระบุถึงข้อแตกต่างใดๆ

นักปัจเจกนิยม เช่น มักซ์ สเตอร์เนอร์ เรียกร้องการเคารพอย่างสูงสุดต่อเสรีภาพของปัจเจกชน ในมุมมองที่คล้ายๆ กัน จอห์น เซอร์ซาน กล่าวว่าอารยธรรมทั้งหมด ไม่ใช่แค่รัฐเท่านั้น ที่จะต้องถูกทำลายลงไป เพื่อให้เสรีภาพงอกงาม ในหนังสือ "ความเรียงเกี่ยวกับศีลธรรมและการเมือง" เดวิด ฮูม ยังได้เขียนถึง "เสรีภาพของพลเมือง"

บางคนมองว่าการปกป้องอุดมคติเกี่ยวกับเสรีภาพว่าเป็นนโยบาย
แนวอนุรักษ์นิยม ทั้งนี้เนื่องจากการปกป้องนี้จะตรงกับแนวคิดเกี่ยวกับเสรีภาพส่วนบุคคล ที่พวกเขามองว่าเป็นรากฐานของแนวคิดอเมริกัน โดยนักคิดแนววิพากษ์บางพวกมองว่าเสรีภาพเป็นแค่เครื่องมือ
ทางอุดมการ อ้างอิงจากวิกิพีเดีย)ในการแสดงความคิดเห็น
แต่เราขอใช้คำว่าท่าน(นสพเดนมาร์ก)กำลังละเมิดและเหยียบยำ้
เสรีภาพของฉันท่านทำให้ฉันต้องร้องไห้แต่ท่านจงจำไว้นี้ไม่ไช
้การร้องไห้เพราะความอ่อนแอ........?
จากบ่าวของอัลลอฮ